How to Clean Your Watch

การเก็บรักษานาฬิกา
 
 
อุณหภูมิ
 
หลีกเลี่ยงการนำนาฬิกาข้อมือไปตากแดดโดยตรง หรือทิ้งไว้ในที่ร้อนหรือเย็นเป็นเวลานานๆ อุณหภูมิที่สูงอาจจะทำให้อายุของเซลพลังงานสั้นลง ในขณะที่อุณหภูมิต่ำอาจทำให้นาฬิกาเดินช้าลง อย่างไรก็ตามในกรณีหลังความเที่ยงตรงจะกลับคืนมาเมื่อใส่นาฬิกาบนข้อมืออีกครั้ง ระวังอย่าใส่นาฬิกากลไกจักรกลเข้าห้องซาวน่าเป็นเวลานานๆเพราะจะทำให้น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันต่างๆที่อยู่ภายในนาฬิกาข้นและเหนียวขึ้นส่งผลต่อการทำงาน ความเที่ยงตรงของนาฬิกาในอนาคต  และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกระทันหันก็เช่นกัน
 
โดยปรกตินาฬิกาของคุณจะทำงานในอุณหภูมิระหว่าง 5-35 องศาเซลเซียส (41-95 องศาฟาเรนไฮต์) ทั้งนี้หากอุณหภูมิเกินกว่า 60 องศาเซลเซียส หรือ 140 องศาฟาเรนไฮต์ (สำหรับบางรุ่นที่เกิน 50 องศาเซลเซียส หรือ 122 องศาฟาเรนไฮต์) อาจเป็นสาเหตุทำให้แบตเตอรี่ภายในนาฬิกาเกิดความเสียหายได้
 
 
การกระเทือน
 
การทำกิจกรรมและการเคลื่อนไหวทั่วๆไปขณะสวมใส่นาฬิกา จะไม่มีผลกับนาฬิกาของคุณ แต่ต้องระวังไม่ให้นาฬิกากระแทกลงสู่พื้นผิวที่แข็ง หรือขี่จักรยานเสือภูเขาบนพื้นถนนที่ขรุขระมากๆเป็นเวลานานๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะนาฬิกาจะถูกแรงสั่นสะเทือนซ้ำๆ หรือถูกกระแทกอย่างแรง แนะนำให้ใส่นาฬิกาที่ออกแบบมาเพื่อกีฬาประเภทนั้นๆดีกว่า
 
 
สนามแม่เหล็ก
 
ไม่ควรวางนาฬิกาไว้ใกล้กับแหล่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก เช่น บริเวณหลังทีวี หรือ ใกล้โทรศัพท์มือถือ เพราะอาจทำให้นาฬิกาทำงานผิดพลาด โดยเฉพาะนาฬิกาประเภท Analog Quartz (ควอทซ์เข็ม) ถ้านาฬิกาได้รับผลกระทบจากสนามแม่เหล็ก ควรเก็บนาฬิกาให้ห่างจากวัตถุที่ก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก (ในกรณีที่เป็นนาฬิการะบบควอทซ์ นาฬิกาจะเดินเป็นปกติ หากนำนาฬิกาออกจากบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก)
 
 
การเกิดสนิมและการผุกร่อน
 
ถ้านาฬิกาของคุณมีแผ่นสติกเกอร์ป้องกันฝาหลัง ติดอยู่บนฝาหลัง ควรลอกออกก่อนที่จะสวมใส่นาฬิกา หากไม่ลอกออกและสวมใส่ทับไว้ บริเวณรอบๆ แผ่นสติกเกอร์จะเป็นที่สะสมของคราบต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ฝาหลังเกิดสนิมและผุได้
 
 
 
 
การทำความสะอาดนาฬิกา

หลังจากนาฬิกาข้อมือผ่านการใช้งานจะมีสิ่งสกปรก หรือ คราบเหงื่อสะสมอยู่เป็นสาเหตุทำให้นาฬิกาข้อมือเกิดการผุกร่อนเร็วกว่าปรกติ โดยเฉพาะตามข้อต่อต่างๆ  รอยต่อฝาหลัง ข้อต่อของสายนาฬิกา เป็นต้น ดังนั้นหลังการใช้งาน ควรทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่นานขึ้น
 
 
การทำความสะอาดตัวเรือนนาฬิกา
 
ควรล้างทำความสะอาดตัวเรื่อนด้วยน้ำสะอาด หรือชมพูอ่อนๆ โดยอาจใช้แปรงสีฟันช่วยขัด บริเวณที่เป็นซอก ข้อต่อต่างๆ แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง จากนั้นก็เช็ดด้วยผ้านุ่มๆเพื่อป้องกันรอยขีดข่วน ใช้ไดร์เป่าลมร้อน โดยตั้งอุณหภูมิไม่สูงมากนัก เป่าไล่ความชื้นอีกครั้ง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นข้อต่อต่างๆ (ใช้นาฬิกาวางบนมือ แล้วใช้ลมร้อนเป่า ถ้ารู้สึกว่ามือข้างที่วางนาฬิการ้อนให้หยุดเป่า หรือ ลดอุณหภูมิลง)

* ข้อควรระวัง ถ้านาฬิกาข้อมือเป็นพลาสติกความร้อนจะทำให้พลาสติกเสียรูป ส่งผลให้นาฬิกาเสียหายได้
 
 
การดูแลทำความสะอาดสายหนัง
 
เหงื่อหรือความชื้นทีเกิดหลังจากการใช้งานถ้าไม่หมั่นเช็ดออกจากสายนาฬิกาโดยเฉพาะสายหนัง ก็จะส่งผลให้หนังแห้งและเสียหาย เนื่องมาจากการสูญเสียน้ำมัน  ควรเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าแห้งนุ่มแล้วปล่อยให้สายหนังแห้งตามธรรมชาติ ขี้เกลือหรือขุยเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อย ให้ใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสบู่อ่อนๆเช็ดทำความสะอาด สายหนังด้านในให้ใช้ผ้านุ่มชุบด้วยแอลกอฮอล์  หลังจากถอดนาฬิกาปล่อยให้มันได้พักเพื่อการคลายตัวและคืนรูป และปล่อยให้ความชื้นที่สายหนังรับมาจากข้อมือระเหยไปให้หมดก่อนจะนำมาใส่ใหม่
 
การใส่สายหนังควรจะใส่ให้หลวมนิดหน่อย เพื่อให้อากาศระบายออก ซึ่งจะทำให้ความชื้นระเหยออกไปได้ และระวังอย่าให้สายของนาฬิกาสัมผัสกับสเปรย์กันยุง หรือครีมทากันแดด เพราะสายนาฬิกาจะเสื่อมเร็วกว่าเวลาอันควร 
Visitors: 224,348